Web OPAC
ย่อมาจาก Web Online Public Access Catalog หมายถึง การสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบออนไลน์ โดยการเชื่อมโยงและโอนย้ายสารสนเทศจากแหล่งที่ให้บริการ ซึ่งเรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) มายังเครื่องที่ใช้บริการ
สารสนเทศใน Web OPAC ประกอบไปด้วย
1) บรรณานุกรม
2) บรรณานุกรม + สารบัญ
3) บรรณานุกรม + บทคัดย่อ/บรรณนิทัศน์
4) บรรณานุกรม + ฉบับเต็มรูป
5) ดัชนีวารสาร
6) รายการวารสาร + หนังสือพิมพ์
7) บรรณานุกรม + เมตาดาต้า + ฉบับเต็มรูป
เว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการ
URL : http://www.library.msu.ac.th
เข้าสู่เมนู Web OPAC ได้ 2 ช่องทาง คลิก Web OPAC จากเมนูสืบค้นสารสนเทศ คลิก Web OPAC ที่อยู่มุมขวาบนของเว็บไซต์ |
- ผู้แต่ง
- ชื่อเรื่อง
- หัวเรื่อง
- เลยเรียก
- คำสำคัญ
1.การสืบค้นจากชื่อผู้แต่งผู้แต่ง หมายรวมถึง ผู้แต่งร่วม บรรณาธิการ ผู้แปล ชื่อนิติบุคคล และชื่อรายงานการ ประชุมสัมมนา
* หมายเหตุ : ผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ ให้พิมพ์ชื่อสกุล ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ชื่อต้น ชื่อกลาง
1.พิมพ์ชื่อผู้แต่ง 2.เลือกขอบเขตการสืบค้น 3.กดปุ่มสิบค้นหา |
ผลการสืบค้นจากชื่อผู้แต่ง พบรายการทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นผลงานของผู้แต่ง จำนวน 24 รายการ เรื่องใดที่ตรงกับความต้องการให้คลิกที่ชื่อเรื่องนั้นเพื่อตรวจสอบสถานภาพของหนังสือก่อน เมื่อต้องการสืบค้นใหม่ให้พิมพ์คำค้นลงในช่องว่างแล้วเลือกขอบเขตการสืบค้น กดปุ่ม Search หรือกดปุ่ม New Search เพื่อกลับไปหน้าจอเมนูหลัก2.การสืบค้นจากชื่อเรื่อง
พิมพ์ชื่อเรื่องที่ต้องการสืบค้น ซึ่งผู้ใช้ต้องทราบชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ
ตัวอย่างผลการสืบค้นจากชื่อเรื่อง คำว่า “สารสนเทศ” พบทั้งหมด 121 รายการ ในแต่ละหน้าจะแสดง 12 รายการต่อหน้า ถ้าต้องการดูรายการอื่นให้กดปุ่มเลขหน้าผลการสืบค้นเพื่อแสดงหน้าถัดไป
3. การสืบค้นจากหัวเรื่องหัวเรื่อง หมายถึง คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นเพื่อบ่งบอกถึงเนื้อหาสาระสำคัญของเอกสาร หรือหนังสือ ตลอดจนทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ทุกชนิด
4. การสืบค้นจากเลขเรียกเลขเรียกหนังสือ หมายถึง สัญลักษณ์ที่กำหนดให้กับทรัพยากรสารสนเทศประกอบด้วยเลขหมู่ พยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่ง เลขประจำตัวผู้แต่ง และพยัญชนะตัวแรกของชื่อเรื่อง เพื่อบอกตำแหน่งที่อยู่ของวัสดุนั้นๆ ในห้องสมุด ซึ่งสำนักวิทยบริการ จัดหมวดหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้
5. การสืบค้นจากคำสำคัญคำสำคัญ คือ คำ หรือวลี ที่ปรากฏอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของชื่อเรื่อง/ชื่อชุด/สารบัญ/บทคัดย่อ ฯลฯ
การสืบค้นวารสาร จาก Web OPAC
เมื่อสืบค้นวารสารเล่มนั้นได้แล้ว
ให้จดเลขเรียก และคลิกที่ latest
received เพื่อตรวจสอบสถานะของวารสาร
ให้ดูเลขฉบับที่ ปีที่ของวารสารที่ได้จดไว้
ถ้าเป็นวารสารเย็บเล่มจะมีคำภาษาอังกฤษว่า Bound ซึ่งจะถูกจัดเก็บอยู่บนชั้นวารสารชั้น
3 ถ้าเป็นวารสารล่วงเวลาที่รอการเย็บเล่มจะมีคำภาษาอังกฤษว่า Arrived ซึ่งจะเก็บอยู่ที่เคาน์เตอร์วารสาร
ให้ผู้ใช้บริการติดต่อบรรณารักษ์เพื่อยืมวารสารเล่มนั้นไปถ่ายเอกสารต่อไป
สถานะของวารสาร
BOUND หมายถึง วารสารนั้นเย็บเล่มแล้ว สามารถหยิบได้ด้วยตนเองที่ชั้นวารสารเย็บเล่ม ชั้น 3
ARRIVED หมายถึง วารสารฉบับนั้นมาแล้ว ติดต่อบรรณารักษ์ที่เคาน์เตอร์วารสาร ชั้น 3
Late หมายถึง วารสารฉบับนั้นยังไม่มา
To Bind หมายถึง กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการเย็บเล่ม
การยืมต่อ (Renew)และตรวจสอบประวัติการยืม ผ่าน Web OPAC
การยืมต่อ (Renew) และตรวจสอบประวัติการยืม
หมายถึง การต่ออายุการยืมทรัพยากรสารสนเทศ ที่ถูกยืมออกจากห้องสมุดโดยไม่ต้องนำทรัพยากรสารสนเทศนั้นมาทำการยืมต่อที่ห้องสมุด และตรวจสอบประวัติการยืมของตนเองเพื่อดูรายการที่ยืม วันกำหนดส่ง หรือดูค่าปรับที่ค้างชำระ โดยดำเนินการผ่านเว็บไซต์สำนักวิทยบริการ หรือจากเครื่องสืบค้น Web OPAC
หมายถึง การต่ออายุการยืมทรัพยากรสารสนเทศ ที่ถูกยืมออกจากห้องสมุดโดยไม่ต้องนำทรัพยากรสารสนเทศนั้นมาทำการยืมต่อที่ห้องสมุด และตรวจสอบประวัติการยืมของตนเองเพื่อดูรายการที่ยืม วันกำหนดส่ง หรือดูค่าปรับที่ค้างชำระ โดยดำเนินการผ่านเว็บไซต์สำนักวิทยบริการ หรือจากเครื่องสืบค้น Web OPAC
ขั้นตอนการยืมต่อ ใช้รหัสบาร์โค้ดและรหัส PIN ที่ใช้กับเครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติ เพื่อล็อคอินเข้าใช้งานในระบบ
ควรทำการยืมต่อก่อนถึงวันครบกำหนดส่ง 1 วัน หรือภายในวันครบกำหนดส่ง จะไม่สามารถยืมต่อหลังจากวันกำหนดส่งได้หลังจากยืมต่อแล้ว ระบบจะเพิ่มวันยืมให้อีก 7 วัน ผู้ใช้บริการสามารถยืมต่อได้เพียง 1 ครั้ง
การจอง (Hold) ผ่าน web opac
การจอง (Hold)
หมายถึง การจองทรัพยากรสารสนเทศ เช่น หนังสือ สื่อโสตทัศน์ ในกรณีที่ทรัพยากรสารสนเทศนั้นถูกยืมออกไปแล้วผ่าน Web OPAC และเมื่อตรวจสอบรายการที่จองพบว่ามาแล้ว ให้ติดต่อรับรายการที่จองได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน เพื่อนำไปยืมที่เครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติต่อไป
หมายถึง การจองทรัพยากรสารสนเทศ เช่น หนังสือ สื่อโสตทัศน์ ในกรณีที่ทรัพยากรสารสนเทศนั้นถูกยืมออกไปแล้วผ่าน Web OPAC และเมื่อตรวจสอบรายการที่จองพบว่ามาแล้ว ให้ติดต่อรับรายการที่จองได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน เพื่อนำไปยืมที่เครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติต่อไป
ตัวอย่างการจอง
เมื่อสืบค้นจาก Web OPAC พบว่าหนังสือเรื่องที่ต้องการถูกยืมออกไปแล้ว และผู้ใช้ต้องการยืมหนังสือเล่มนั้นให้คลิกปุ่ม Request ซึ่งอยู่ด้านบนของ Web OPAC
ให้ใส่ชื่อ รหัสบาร์โค้ด และรหัส PIN เช่นเดียวกับการยืมต่อและตรวจสอบประวัติการยืม ให้เลือกสถานที่รับหนังสือ ซึ่งมี 2 แห่ง ได้แก่ 1 MSU Library คือหน่วยบริการขามเรียง และ 2 Srisawas Center คือหน่วยบริการศรีสวัสดิ์ จากนั้นกด Submit
คลิกเลือกหนังสือที่ต้องการจอง จากนั้นคลิกปุ่ม request selected item
การจองที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว
เมื่อการจองเสร็จสิ้นแล้ว ระบบจะแสดงชื่อหนังสือพร้อมชื่อผู้แต่ง และสถานที่รับหนังสือคือสำนักวิทยบริการหน่วยบริการขามเรียง
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
โทรศัพท์ 043-754322 - 40 ต่อ 2405, 2437
E-Mail : library@msu.ac.th
MSN : reference_lib@msu.ac.th
แหล่งที่มา http://www.library.msu.ac.th/web/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น