วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Search Engine คืออะไร

Search Engine คืออะไร




               Google.com เป็น Search Engine ตัวหนึ่ง (หรือจะเรียก ที่หนึ่ง ก็ได้) ซึ่งหากเราเราจะเรียกแบบบ้าน ๆ ตามประสาคนท่องเว็บแล้ว Search Engine ก็คือ เครื่องมือในการค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตนั่นเอง นอกจาก Google แล้วยังมี Search Engine อีกหลาย ๆ ที่ ซึ่งดัง ๆ ที่เราพอจะคุ้นตาคุ้นหูอยู่บ้างก็อาทิเช่น Yahoo MSN เป็นต้น (ขอแนะนำที่ดัง ๆ เป็นพอ ไม่ดังไม่สน)

                ซึ่งในปัจจุบันหากให้เดาเพื่อน ๆ คงจะพอเดาถูกว่า Search Engine ที่ดังที่สุด (มีคนใช้เยอะสุด ๆ) ก็คือ Search Engine พระเอกที่ชื่อว่า Google.com นั่นเอง ซึ่งเป็น Search Engine ที่มีคนใช้เยอะมาก ๆ ทั้ง ๆ ที่มีให้บริการมาไม่กี่ปีนี่เอง เปิดบริการมาไม่นานก็แซงหน้าขาใหญ่เดิมอย่าง Yahoo ไปชนิดที่เรียกว่ามองแทบไม่เห็นฝุ่น ก็เพราะว่าด้วยรูปแบบที่ใช้งานง่าย และรวดเร็วนั่นเอง แถมเป็นภาษาไทยด้วย ยิ่งถูกใจคนไทยเป็นอย่างยิ่ง


                 ซึ่งปรากฏการ google ฟรีเว่อร์นี้เอง ที่ทำให้คนส่วนหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Webmaster หันมาทำ SEO เจาะที่ Search Engine ที่มีชื่อว่า Google กันอย่างถล่มทะลาย


               พูดไปเรื่องของ SEO แต่ล่ะที่ ที่ดัง ๆ ไปแล้ว เราก็มารู้เรื่องเกี่ยวกับประเภทของ Search Engine กันซักหน่อย ซึ่ง Search Engine ก็มีอยู่หลาย ๆ ประเภท ดังนี้

1. อินเด็กเซอร์ (Indexers) Indexers Search Engine

 
               เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นิยมเรียกกันว่า "Spiders" หรือ"ROBOT" หรือ "Crawler" โดยโปรแกรมเหล่านี้จะถูกส่งออกไปท่องในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นระยะ ๆ เพื่อค้นหาเว็บเพจใหม่ ๆ หรือเว็บเพจที่ได้มีการปรับปรุงใหม่ แล้วนาข้อมูลของเว็บเพจนั้น ๆ มา จัดเก็บเป็นดัชนีในฐานข้อมูลซึ่งนิยมเรียกกันว่า
"Index"
             หลักการนี้เป็นการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Crawler-Based Search Engine เป็นเครื่องมือที่ทำการบันทึกและเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งเป็นประเภท Search Engine ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน

               ซึ่งการทำงานประเภทนี้ จะใช้โปรแกรมตัวเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Web Crawler หรือ Spider หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Search Engine Robots หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า บอท ในภาษาไทย www คือเครือข่ายใยแมงมุม ตัวโปรแกรมเล็ก ๆ ตัวนี้ก็คือแมงมุมนั่นเอง โดยเจ้าแมงมุมตัวนี้จะทำการไต่ไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลกอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยไต่ไปตาม URL ต่าง ๆ ที่มีการเชื่อมโยงอยู่ในแต่ละเพจ แล้วทำการ Spider กวาดข้อมูลที่จำเป็นต่าง ๆ (ขึ้นอยู่กะ Search Engine แต่ละที่ว่าต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง) แล้วเก็บลงฐานข้อมูล การใช้โปรแกรมกวาดข้อมูลแบบนี้ จึงทำให้ข้อมูลที่ได้มีความแม่นยำ และสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้เร็วมาก Search Engine ที่เป็นประเภทนี้ เช่น Google Yahoo MSN

ลักษณะการทางานของอินเด็กเซอร์
                  1. ระบบจะทาการส่งโปรแกรมท่องไปในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากเว็บเพจ ซึ่งจะทาให้ได้ฐานข้อมูลดัชนีเว็บที่มีขนาดใหญ่ และสารสนเทศจานวนมาก
                  2. ข้อมูลที่ได้จะถูกรวบรวมมาทาดัชนีทั้งหมด และจัดอันดับ (Ranked) ด้วยคอมพิวเตอร์ตามหลักวิธีการ (Computer Algorithm) ที่กาหนดไว้ในแต่ละเสิร์ชเอ็นจิ้น
                 3. การจัดทาดัชนีมักจะทาโดยใช้คาทั้งหมดทุกคาที่ปรากฏอยู่ในเว็บเพจที่ได้เชื่อมโยงไปถึง ซึ่งเราสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจที่ต้องการได้โดยอาศัยการเทียบเคียงคาที่ต้องการกับคาที่พบในเว็บเพจนั้น ๆ
                4. ข้อมูลดัชนีเว็บที่ได้จะถูกจัดเก็บโดยอัตโนมัติด้วยโปรแกรมจึงไม่มีการประเมินและกลั่นกรองสาระในเว็บเพจที่เก็บรวบรวมมา ดังนั้นเนื้อหาสาระที่ได้จึงมีทั้งที่ดีและไม่ดี ผู้ใช้จะต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาคัดสรรด้วยตนเอง
               5. เสิร์ชเอ็นจิ้นแต่ละระบบจะใช้วิธีเก็บข้อมูลดัชนี ตลอดจนวิธีการวิเคราะห์อันดับรายการที่แตกต่างกันไป ดังนั้นในการค้นหาด้วยคาค้นในแต่ละเสิร์ชเอ็นจินจะให้ผลการค้นหาที่แตกต่างกัน และไม่มีเสิร์ชเอ็นจินใดที่เก็บรวบรวมและจัดทาดัชนีเว็บเพจที่มีอยู่บนเว็บได้ทั้งหมด

ยุทธวิธีในการค้นหาข้อมูล
          ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยในค้นหาข้อมูลให้เลือกใช้มากมาย และมีความหลากหลายในลักษณะและรูปแบบวิธีการใช้งาน แต่ถ้าเราเข้าใจถึงเทคนิคพื้นฐานของการสืบค้นสารสนเทศจะช่วยทาให้เราสามารถใช้เครื่องมือเหล่านั้นได้อย่างเต็มความสามารถ และดาเนินการค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้หลักการดังนี้
1. การใช้คาหลักหรือวลี (Keyword and Phrase)              การค้นหาด้วยคาหลักหรือวลี (Keyword and Phrase) เป็นเทคนิคพื้นฐานที่พบเห็นกันมากที่สุดในเครื่องมือช่วยค้นเพราะเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกต่อผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้เพียงพิมพ์คาที่ต้องการ (Keyword) เพื่อใช้เป็นคาค้น ลงในกล่องค้นหา (search box) ซึ่งการค้นหาในลักษณะนี้มักเรียกว่าการค้นหาแบบง่าย (Simple Search)

2. วิธีการใช้ Search Engine แต่ละเว็บไซต์
Search Engine แต่ละตัวจะมีส่วนช่วยในการอธิบายวิธีใช้ในส่วนที่เรียกว่า Help หรือ About  เช่น Yahoo   มีวิธีกำหนดคำค้นเพื่อให้ได้ผลค้นที่เฉพาะเจาะจงหรือตรงต่อความต้องการ โดย
1.1    ใช้เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) เพื่อค้นหาคำที่มีการสกดคล้ายกัน เช่น smok* หมายความว่า ให้ค้นหาคำทั้งหมดที่ขึ้นด้วย 5 ตัวอักษรแรก เช่น smoke smoker เป็นต้น
1.2    ใช้เครื่องหมาย + สำหรับกำหนดให้แสดงผลการค้นเฉพาะเว็บไซต์ ที่ปรากฏคำทั้งสองคำ เช่น Secondary + education
1.3  ใช้เครื่องหมาย  “    ”  สำหรับการค้นหาคำที่เป็นวลี เช่น  “great barrier reaf” ฯลฯ
3. การค้นหาด้วยตรรกบูลีน                 การค้นหาด้วยตรรกบูลีน (Boolean Logic) เป็นวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก ซึ่งในการค้นหาด้วยคาหรือวลี ตรรกบูลีนมีบทบาทอย่างสาคัญในการประมวลผลข้อความด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การค้นหาด้วยวิธีนี้จะเป็นการใช้ตัวเชื่อม (Operator) เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคาค้นในลักษณะที่ผู้ใช้ต้องการ ตัวเชื่อมตามตรรกบูลีน ได้แก่ AND หรือ OR หรือ NOT ซึ่งเป็นคาที่ใช้ตัวอักษรใหญ่ทั้งหมด ซึ่งทาให้สามารถค้นหาข้อมูลในเชิงลึกและใกล้เคียงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด วิธีการค้นหาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การค้นหาข้อมูลตรงตามความต้องการ หรือใกล้เคียงมากที่สุด ควรเลือกค้นหาด้วย
1. บีบประเด็นให้สั้นลง
2. การใช้คาที่ใกล้เคียง
3. การใช้คาหลัก (Keyword)
4. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข
5. ใช้เครื่องหมายบวกและลบช่วย
6. หลีกเลี่ยงภาษาพูด
7. Advanced Search อย่าลืมที่จะใช้ Advanced Search
8. อย่าละเลย Help ไว้คอยช่วยเหลือ


เทคนิคการค้นหาให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
การค้นหาข้อมูลด้วยเว็บไซต์ค้นหานั้น เพื่อให้ขอบข่ายของการค้นหาแคบเข้า สามารถ ค้นหาได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น จะต้องใช้เทคนิคในการค้นหาดังนี้
ตารางที่ 12.1 เทคนิคการค้นหา
บีบประเด็นให้แคบลง
หัวข้อเรื่องที่ต้องการค้นหาต้องพยายามบีบประเด็นให้แคบลง เช่น หากต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะหาโดยใช้คำว่า คอมพิวเตอร์ หรือ Computer นี้ค้นหา เพื่อลองดูเนื้อหากว้างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ว่ามีเรื่องใดบ้าง จากนั้นก็บีบหัวข้อเรื่องลง โดยอาจจะเลือกจากหัวข้อที่เว็บไซต์นั้นจัดทำ หรืออาจจะพิมพ์ข้อความเพื่อค้นหาอีกครั้ง
การใช้คำที่ใกล้เคียง
ควรค้นหาคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำที่กำลังค้นหาด้วย เช่น หากต้องการค้นเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Computer คำที่เกี่ยวข้องที่สามารถใช้ค้นหาได้ คือ technology, IT เป็นต้น
การใช้คำหลัก (Keyword)
คำหลัก (Keyword) หมายถึง คำหรือข้อความที่เราจะนึกถึงเว็บไซต์นั้นเมื่อเอ่ยถึง เช่น สสวท. เรามักจะนึกถึงเว็บไซต์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี http://www.ipst.ac.th หรือ
schoolnet เราจะนึกถึงเว็บไซต์เครือข่ายโรงเรียนไทย
http://www.school.net.th
หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข
พยายามเลี่ยงการใช้คำค้นหาที่เป็นคำเดี่ยวๆ หรือเป็นคำที่มีตัวเลขปน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ก็อย่าลืมใส่เครื่องหมายคำพูด (" ") ลงไปด้วย เช่น "windows 98"
ใช้เครื่องหมายบวกและลบช่วย
ใช้เครื่องหมาย + และ - เพื่อช่วยในการค้นหา โดย + เพื่อใช้กับคำที่คุณต้องการใช้ในการค้นหา และ - เพื่อใช้กับคำที่ไม่ต้องการใช้ในการค้นหา

เครื่องหมาย "+" หมายถึง การระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องมีคำนั้นปรากฎอยู่ในหน้าเว็บเพจ ข้อควรระวังคือ เราจะต้องใช้เครื่องหมายบวกติดกับคำหลักนั้นเสมอ ห้ามมีช่องว่างระหว่างเครื่องหมายบวกกับคำหลัก เช่น
+เศรษฐกิจ +การเมือง หมายถึง หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฎคำว่า "เศรษฐกิจ" และ "การเมือง" อยู่ในหน้าเดียวกันทั้งสองคำ หรือ
+เศรษฐกิจ การเมือง สังเกตเห็นว่าที่คำว่า "การเมือง" ไม่ปรากฏเครื่องหมายบวก "+" อยู่ข้างหน้า เหมือนตัวอย่างบน หมายถึง การค้นหาหน้าเอกสารเว็บเพจที่จะต้องปรากฏ คำว่า "เศรษฐกิจ" โดยในหน้าเอกสารนั้นอาจจะปรากฏหรือไม่ปรากฏคำว่า
"การเมือง" ก็ได้
เครื่องหมายลบ "-" หมายถึง เป็นการระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องไม่ปรากฎคำนั้น อยู่ในหน้าเว็บเพจ เช่น
โรงแรม -รีสอร์ท หมายถึง หน้าเว็บเพจนั้นต้องมีคำว่า โรงแรม
แต่ต้องไม่ปรากฎคำว่า รีสอร์ท อยู่
โดยการใช้งานต้องอยู่ในรูปของ A -B หรือ +A -B โดย A และ B เป็นคำหลักที่ต้องการค้นหา
ตัวอย่าง +มะม่วง -มะม่วงอกร่อง -มะม่วงน้ำดอกไม้ หมายถึง หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฎคำว่า "มะม่วง" แต่ต้องไม่ปรากฎคำว่า "มะม่วงอกร่อง" และ "มะม่วงน้ำดอกไม้" อยู่ในหน้าเดียว
หลีกเลี่ยงภาษาพูด
หลีกเลี่ยงคำประเภท Natural Language หรือเรียกง่ายๆ ว่าคำหรือข้อความที่เป็นภาษาพูด หรือเป็นประโยค ควรสรุปเป็นเพียงกลุ่มคำหรือวลี ที่มีความหมายรวมทั้งหมดไว้
Advanced Search
อย่าลืมที่จะใช้ Advanced Search เพราะจะมีส่วนช่วยได้มาก ในการบีบประเด็นหัวข้อ ให้แคบลง ซึ่งจะทำให้ได้รายชื่อเว็บไซต์ ที่ตรงกับความต้องการของมากขึ้น
อย่าละเลย Help ซึ่งในแต่ละเว็บ จะมี ปุ่ม help หรือ Site map ไว้คอยช่วยเหลือคุณ แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม ซึ่ง help/site map จะมีประโยชน์มากในการอธิบาย option หรือการใช้งาน/
แผนผังปลีกย่อยของแต่ละเว็บไซต์
เว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลและเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
            ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลเป็นจานวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และเป็นที่รู้จักกันคือ googlewww.yahoo.com เป็นเว็บไซต์ค้นหาเก่าแก่รู้จักกันมานาน ปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมอยู่เหมือนเคย ด้วยการที่มีฐานข้อมูลหลากหลายครอบคลุมนทุกเรื่อง ค้นหาได้ฉับไว www.google.co.th เป็นเว็บไซต์ฐานข้อมูลที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งของโลก ในอดีตเป็นบริษัทที่ดาเนินการด้านฐานข้มูลเพื่อให้บริการแก่เว็บไซต์ค้นหาอื่นๆ ปัจจุบันได้เปิดเว็บไซต์ค้นหาเอง ด้วยฐานข้มูลมากกว่าสามพันล้านเว็บไซต์และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน ที่เหนือกว่าผู้ให้บริการรายอื่นๆ คือ เป็นเว็บไซต์ค้นหาที่สนับสนุนภาษาต่างๆ มากกว่า 80 ภาษาทั่วโลก (รวมทั้งภาษาไทย) และมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้บริการในส่วนต่างๆ ของโลกมากถึง 36 ประเทศ
www.Altavista.com เป็น Search engines ของบริษัท Digital Equipment Crop. หรือ Dec ซึ่งมีฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก มีโปรแกรมช่วยในการค้นหาข้อมูลที่มีความสามารถที่สูงมาก โดยมีเว็บเพจมากกว่า 150 ล้านเว็บที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล

การค้นหาข้อมูลโดยใช้ www.google.co.th
การให้บริการค้นหาของ Google แบ่งข้อมูลออกเป็น 4 หมวด คือ
1. เว็บ : เป็นการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก
2. รูปภาพ : เป็นการค้นหารูปภาพหลากหลายฟอร์แมตจากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก
3. กลุ่มข่าว : เป็นการค้นหาเรื่องราวที่น่าสนใจจากกลุ่มข่าวต่างๆ
4. สารบบเว็บ : การค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่แยกออกเป็นหมวดหมู่ การค้นหาขั้นสูง ในเว็บไซต์ของ Google มีความสามารถในการตั้งค่าหรือเงื่อนไขในการค้นหาได้ ด้วยการเข้าไปกาหนดที่หน้าตัวเลือกภาษา เหมาะกับท่านที่ต้องใช้เว็บไซต์ในการค้นหาเฉพาะภาษาหนึ่ง ภาษาใดโดยเฉพาะ หรือที่เกี่ยวกับภูมิภาคต่างๆ ของโลกเป็นประจา จะช่วยในการค้นหาทาได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

              การค้นหาขั้นสูงสามารถระบุรายละเอียดต่างๆ ได้ เพื่อให้วงในการค้นหาให้แคบเข้าและใกล้เคียงกับความต้องการมากที่สุด เช่น การกาหนดคาหลักที่ต้องการ คาที่คล้ายคลึงและคาที่ไม่ต้องการให้ปรากฏอยู่ด้วย กาหนดเฉพาะภาษา ชนิดของไฟล์ ช่วงระยะเวลาที่เอกสารนั้นสร้างขึ้น จากโดเมนเว็บไซต์ชื่ออะไร เป็นต้น

การค้นหากลุ่มข่าว
               กลุ่มข่าวต่าง ๆ นั้นโดยปกติจะมีการแบ่งแยกเป็นหมวดหมู่ที่น่าสนใจอยู่แล้ว เราสามารถคลิกที่ชื่อกลุ่มข่าวที่เราสนใจได้ทันที แต่บางทีเราสามารถเลือกเงื่อนไขพิเศษเพื่อช่วยในการค้นหาข่าวให้เร็วยิ่งขึ้นก็ได้ สามารถระบุข้อความที่ต้องการค้นหาจากกลุ่มข่าวด้วยคา หรือบางส่วนของข้อความ เช่นเดียวกับการค้นหาเว็บเพจ แต่สามารถคัดเลือกเอาเฉพาะคาที่ปรากฏในกลุ่มข่าว ผู้เขียน หมายเลขข้อความ ภาษาที่ใช้ รวมทั้งช่วงระยะเวลาตามที่ต้องการได้ด้วย

2. แบบสารบัญเว็บไซต์ (Web Directory)       

 

                Search Engine ที่เป็นแบบนี้มีอยู่หลายเว็บไซต์มาก ๆ ที่ดังที่สุดในเมืองไทย ที่เอ่ยออกไปใครใครคงต้องรู้จัก นั้นก็คือที่สารบัญเว็บของ Sanook.com ซึ่งหลาย ๆ คนคงเคยเข้าไปใช้บริการ หรืออย่างที่ Truehits.com เป็นต้น

                 ส่งที่เราจะสังเกตเห็นจาก Search Engine ประเภทนี้ก็คือ ลักษณะของการจัดเก็บข้อมูลที่แสดงให้เราเห็นทั้งหมด ว่ามีเว็บอะไรบ้างอยู่ในฐานข้อมูล ซึ่งแตกต่างจากประเภทแรก ที่หากคุณไม่ค้นหาโดยใช้คำค้น หรือ Keyword แล้ว คุณจะมีทางทราบเลยว่ามีเว็บไซต์อะไรอยู่บ้าง และมีเว็บอยู่เท่าไหร่

                   แบบสารบัญเว็บไซต์ จะแสดงข้อมูลที่รวบรวมเว็บไซต์ที่มีทั้งหมดในฐานข้อมูล และจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ และอาจจะมีหมวดหมู่ย่อย ซึ่งผู้ค้นหาข้อมูลสามารถคลิกเข้าไปดูได้

                   หลักการทำงานแบบนี้ จะอาศัยการเพิ่มข้อมูลจากเจ้าของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ต้องการประชาสัมพันธ์เว็บ หรืออาจใช้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลส่วน Search Engine เป็นผู้หาข้อมูลเว็บไซต์มาเพิ่มในฐานข้อมูล ซึ่งข้อมูลในส่วนของสารบัญเว็บไซต์จะเน้นในด้านความถูกต้องของฐานข้อมูล ซึ่งข้อมูลเว็บไซต์ที่ถูกเพิ่มเข้ามาจะถูกตรวจสอบและแก้ไขจากผู้ดูแล

 

3. แบบอ้างอิงในคำสั่ง Meta Tag (Meta Search Engine )                 

                Search Engine ประเภทนี้จะอาศัยข้อมูลใน Meta tag (อยากรู้ดูในบทความหน้า) ซึ่งเป็นส่วนของข้อมูลที่อยู่ในแท็ก HEAD ของภาษา HTML ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ จะเป็นส่วนที่ให้ข้อมูลกับ Search Engine Robots

                 Search Engine ประเภทนี้ไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง แต่จะอาศัยข้อมูลจาก Search Engine Index Server ของที่อื่น ๆ ซึ่งข้อมูลจะมาจาก Server หลาย ๆ ที่ ดังนั้น จึงมักได้ผลลัพธ์จากการค้นหาที่ไม่แม่น



การทำงานของ Search Engine  ประกอบไปด้วย ๓ ส่วนหลัก ๆ คือ
               ๑. Spider หรือ Web Robot จะเป็นตัวที่ทำหน้าที่เข้าสำรวจเว็บไซต์ต่างๆ แล้วดึงข้อมูลเหล่านั้นมาอัพเดทใส่ในรายการฐานข้อมูล ส่วนมาก Spider มักจะเข้าไปอัพเดทข้อมูลเป็นรายเดือน
               ๒. ฐานข้อมูล (Database) เป็นส่วนที่เก็บรายการเว็บไซต์ ฐานข้อมูลที่ดีควรจะมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะรองรับกับการเติบโตของเว็บไซต์ในปัจจุบัน การออกแบบฐานข้อมูลที่ดีก็เป็นส่วนสำคัญเพราะถ้าฐานข้อมูลออกแบบมาทำงานช้าก็ทำให้การรอผลนานและจะไม่ได้รับความนิยมไปในที่สุด
                ๓.โปรแกรม Search Engine มีหน้าที่รับคำหรือข้อความที่ผู้ใช้งานป้อนเข้ามา แล้วเข้าค้นหาตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล จากนั้นก็จะรายงานผลเว็บไซต์ที่ค้นพบให้กับผู้ใช้ การสืบค้นด้วยวิธีนี้นอกจากจะต้องมีระบบการสืบค้นข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพแล้ว การกลั่นกรองผลที่ได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของการสืบค้นข้อมูล
                ดังนั้น  การเลือกใช้เครื่องมือในการค้นหาจะต้องเข้าใจว่า ข้อมูลที่ต้องการค้นหานั้นมีลักษณะอย่างไร มีขอบข่ายกว้างขวางหรือแคบขนาดไหน แล้วจึงเลือกใช้เว็บไซต์ค้นหาที่ให้บริการตรงกับความต้องการ

Top Hit Search Engine

1.Google                             (46.5%)
2.Yahoo                              (20.6%)
3.MSN  Search                    (7.8%)
4.Altavista                            (6.4%)
5.Terra Lycos                       (4.6%)
6.Ixquick                              (2.4%)
7.AOL  Search                     (1.6%)

ข้อมูลจาก  สันติ ศรีลาศักดิ์ และเกศมณี  เที่ยงธรรม,เปิดประตูสู่โลกของ Search Engine (นนทบุรี;บริษัทออฟเซ็ต เพรส จำกัด,2545),หน้า 290-291

ประโยชน์ของการค้นข้อมูลโดยใช้ search engine
 
        1. ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
        2. สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
        3. สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
        4. มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
        5. รองรับการค้นหา ภาษาไทย

 แหล่งที่มา http://www.cms-4u.com/knowledge_id57.html

http://teacher.skw.ac.th/salunyar/40102/unit_02/p_207.htm


รู้จักกับ Search Engine

รู้จักกับ Search Engine 




            Google  ก่อตั้งขึ้นในปี 1998  โดย Larry Page และ Sergey Brin  ซึ่งในขณะนั้นเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยสแตนด์ฟอร์ด เป็นผู้ร่วมกันคิดค้นวิธีการค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตและถือว่าเป็นผู้ตั้ง Google และดำรงตำแหน่งในบอร์ดบริหารของ Google ปัจจุบัน

             Google  มีดัชนีของเว็บเพจในฐานะข้อมูลประมาณ 600 ล้านดัชนี และสามารถหาข้อมูลบนเว็บ
เพจมากกว่า 2000 ล้านหน้า และในแต่ละเดือนมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่อยู่นอกสหรัฐอเมริกา

              และในปัจจุบันสนับสนุนข้อมูลแก่ Search Engine หลายแห่งด้วยกันตั้งแต่ Major Search Engine ไปจนถึง Search Engine ขนาดเล็ก




รูปแสดงส่วนประกอบต่างๆ ในหน้าค้นหาของ www.google.co.th

 โดยที่มีส่วนประกอบต่างๆ คือ

1) เป็น Logo ของ www.google.co.th
2) เป็นประเภทของการค้นหาว่าให้ค้นหาข้อมูลที่อยู่ในเว็บ(Web Site)
3) เป็นประเภทของการค้นหาว่าให้ค้นหา ข้อมูลที่เป็นรูปภาพ
4) เป็นประเภทของการค้นหาที่แยกตามกลุ่มข่าวเรียงตาม Usenet
5) เป็นประเภทของการค้นหาโดยจะแยกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ เช่น Arts, Home, Business, Gomes เป็นต้น

              ซึ่งตัวเลือกในข้อ 2-5 เมื่อเรากดคลิกที่แถบใดแถบหนึ่งก็จะปรากฏเป็นแถบเข้มที่เราเลือกไว้ โดยปกติแล้วเมื่อเราเปิดหน้าแรกขึ้นมา Web Site google จะกำหนดการค้นหาให้ไว้ที่เว็บ

6) เป็นช่องสำหรับใส่ค่า (keyward) ที่เราต้องการค้นหา
7) เป็นปุ่มกดสำหรับเริ่มการค้นหา
8) เป็นปุ่มสำหรับค้นหาเว็บอย่างด่วน โดยการค้นหาจะนำเว็บที่อยู่อยู่ในลำดับแรกที่อยู่ในลำดับแรกที่ค้นหาพบ มาเปิดให้ในหน้าถัดไปเลย
9) เป็นตัวเลือกสำหรับการค้นหาแบบละเอียดโดยในตัวเลือกนี้จะมีการกำหนดเงื่อนไขในการค้นหาเพื่อให้ได้ผลการค้นหาที่ละเอียดยิ่งขึ้น เช่น ภาษา, ชนิดไฟล์, วันที่ เป็นต้น
10) เป็นตัวเลือกสำหรับการปรับแต่งตัวเลือกใช้สำหรับการปรับแต่งรูปแบบเครื่องมือในการค้นหา เช่น จำนวน เว็ปที่แสดงในการค้นหาต่อหน้า
11) เป็นตัวเลือกสำหรับเครื่องมือเกี่ยวกับภาษาเพื่อใช้ในการค้นหา
การใช้งาน Google


 การค้นหาขั้นสูง (Advance Search) ใน Google
            
              Google ได้เตรียมวิธีการค้นหาอย่างละเอียดไว้มากมายหลายแบบ ให้เราสามารถเรียกใช้ได้สะดวกและง่ายดาย โดยคลิ๊กที่ การค้นหาขั้นสูง (Advance Search) หน้าจอการค้นหาขั้นสูงจะประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังต่อไปนี้

            1. หาได้จากผลลัพธ์
            2. ภาษา สำหรับเลือกให้แสดงเว็บของผลลัพธ์ในภาษาที่เราต้องการเท่านั้น
            3. ชนิดของไฟล์ สามารถเลือกให้แสดงผลลัพธ์เป็นไฟล์เฉพาะชนิดที่ต้องการเท่านั้น
            4. วันที่สามารถเลือกค้นหาและแสดงเฉพาะหน้าเว็บเพจที่มีการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด
            5. รูปแบบที่ปรากฏ
            6. โดเมน หาหน้าเว็บเฉพาะจากชื่อเว็บไชต์ หรือ Domain ที่กำหนดเท่านั้น เช่น ถ้าเราจะค้นหาจากเว็บมหิดลเท่านั้น ให้ใส่ mahidol.ac.th ลงในช่อง
            7. การกำหนดหน้าเว็บที่ต้องการค้นหา
            8. เมนูการตั้งค่าใน Google (Preferences) เราสามารถกำหนดตั้งค่าการทำงานของเว็บ

 
แหล่งที่มา  http://mulic.comuf.com/index.php?option=com_content&view=category&id=42&Itemid=43

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความหมายของ Opac และ Web Opac

Opac คืออะไร

              Opac และ Web Opac หมายถึง การสืบค้นสารนิเทศทางบรรณานุกรมของสื่อสารที่มีการให้บริการในห้องสมุดผ่านอินทราเน็ต หรืออินเตอร์เน็ต จากฐานข้อมูลห้องสมุดอัตโนมัติ ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว ได้โดยการสืบค้นผ่านระบบออนไลน์ของห้องสมุดจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถสืบค้นสารสนเทศจากชื่อผู้แต่ง (Author) ชื่อเรื่อง (Title) เลขหมู่หนังสือ (Call Number) หัวเรื่อง (Subject) คำสำคัญ (Keyword) ชื่อชุด (Series) เลขมาตรฐานสากลวารสาร/หนังสือ/เลขเรียกหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (ISSN/ISBN/LCCN)
               นอกจากนี้ยังสามรถใช้เทคนิกการสืบค้นแบบตรรกบูลิน (Boolean Logic) การตัดคำ (Truncation) การจำกัดขอบเขตข้อมูลการสืบค้น (Filed Searching) การสืบค้นด้วยปีที่พิมพ์ (Date Searching) ภาษา (Languager) ชื่อสำนักพิมพ์ (Publisher) และประเภทของสารสนเทศ (Type Of Information) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับซอร์ฟแวร์และการออกแบบห้องสมุดอัตโนมัติด้วย

ระบบ Opac มีระบบพื้นฐาน 4 ส่วน คือ

             1. ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)  ประกอบด้วย
                        - ฮาร์ดแวร์ (Hardware)  
                        - ซอร์ฟแวร์ (Sofeware) 
                        - อุปกรณ์นำเข้าจ้อมูล (Input Devices)
                        - อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output Devices)
             2. ฐานข้อมูล (Database) ฐานข้อมูลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบออนไลน์  ซึ่งประกอบด้วย
                        - แฟ้มข้อมูลบรรณานุกรม (Bibleographical File)
                        - แฟ้มข้อมูลรายการหลักฐาน (Authority File)
                        - แฟ้มข้อมูลผกผัน (Inverted File)
   โดยมีรายละเอียดดังนี้
                แฟ้มข้อมูลบรรณานุกรม เป็นแฟ้มสำหรับจัดเก็บรายการบรรณานุกรมไว้ในรูปแบบที่เครื่องอ่านได้ (MARC Format) ประกอบด้วยเขตข้อมูลหลัก และเขตข้อมูลย่อยซึ่งมีกำหนดว่าเขตข้อมูลใดจะจัดทำดัชนี หรือใช้เป็นจุดเข้าถึง (Access Point) ได้บ้าง
                แฟ้มรายการหลักฐานเป็นแฟ้มสำหรับจัดเก็บ และตรวจสอบแก้ไขมาตารฐานของรายการบรรณานุกรมซึ่งแฟ้มรายการหลักนี้จะควบคุมระบบการสืบค้นให้มีประสิทธิภาพ
                แฟ้มข้อมูลผกผัน เป็นแฟ้มข้อมูลที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้กลยุทธ์ในการสืบค้นที่ซับซ้อนได้รวดเร็วขึ้นโดยการดึงข้อมูลมาจากแฟ้มข้อมูลบรรณานุกรม ซึ่งแต่ละรายการจะมีสัญลักษณ์ระบุไว้เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึง แฟ้มข้อมูลผกผันทำงานตลอดเวลาที่มีการสืบค้นในขณะที่แฟ้มข้อมูลบรรณานุกรมทำงานเมื่อมีการแสดงผลการสืบค้นหรือมีการพิมพ์ผลการสืบค้น
               3. ผู้ใช้ (User) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ ความสำเร็จของการสืบค้นสารสนเทศขึ้นอยู่กับทักษะและภูมิหลังของผู้ใช้ ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาพฤติกรรมการสืบค้น เช่น ความรู้เกี่ยวกับหัวเรื่อง ทักษะการใช้แป้นพิมพ์ การสะกดคำ รวมทั้งมโนทัศน์ในการสืบค้นที่ยืดหยุ่นได้เมื่อมีปัญหาการสืบค้น
               4.ระบบการเชื่อมสานระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (Human Computer Interface) เป็นระบบที่เน้นหนักที่รูปแบบการเชื่อมประสาน หรือภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้สืบค้นสารสนเทศได้ง่ายขึ้น และลดความผิดพลาดของผู้ใช้ รวมทั้งได้รับผลการสืบค้นที่ตรงกับความต้องการ ซึ่งปัจจุบันการเชื่อมประสานกับคอมพิวเตอร์ หรือเมาส์จะแสดงผลทางหน้าจอทันที ซึ่งรูปแบบการเชื่อมประสาน มีอยู่ 3รูปแบบ คือ
                            4.1 การเชื่อมประสานแบบเมนู (Menu Interface) คอมพิวเตอร์ของห้องสมุดจะแสดงรายการคำสั่ง โดยแต่ละรายการมีการกำหนดตัวอักษรบนแป้นเป็นตัวชี้บอกให้ผู้ใช้ได้เลือกเคาะแป้นพิมพ์ป้อนคำสั่งตามที่ต้องการโดยใช้เครื่องหมายลูกศร ขึ้น-ลง ซ้าย-ขวา
                            4.2 การเชื่อมประสานแบบใช้คำสั่ง (Command Oriented Interface) การเชื่อมประสานเหล่านี้ผู้ใช้ต้องพิมพ์คำสั่งที่ต้องการ ซึ่งส่วนใหญ่พื้นที่ในการรับคำสั่งจะอยู่แถวล่างสุดของจอภาพ และพื้นที่ที่เหลือของหน้าจอ อธิบายวิธีการใช้คำสั่ง การเชื่อมประสานแบบนี้ผู้ใช้ต้องจำคำสั่งและโครงสร้างของไวยากรณ์ให้ได้
            ข้อดีคือสามารถกำหนดคำสั่งให้ซับซ้อนกว่าระบบเมนูโดยเฉพาะการสืบค้นเทคนิกแบบตรรกบู
ลิน ซึ่งผู้ใช้สามารถกำหนดคำเชื่อมได้มากกว่า
                            4.3 การเชื่อมประสานแบบภาพ (Graphic User Interface) เป็นการเชื่อมประสานด้วยรูปภาพโดยใช้ Icon, Scrollbars, Pull-down, Menu Mutiple, Window เป็นการทำงานด้วยระบบ Window เป็นหลัก ผู้ใช้ป้อนสำสั่งโดยการใช้เมาส์ให้ดำเนินการสืบค้นสารนิเทศ

                     อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ กล่าวถึง องค์ประกอบการสืบค้น OPAC ไว้ว่า ไม่ว่าการสืบค้นจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม ส่วนมากจะประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ ดังนี้
                             1. ข้อมูลที่ใช้ในการค้นหาเอกสารและการจัดเรียง หรือจัดเอกสารในห้องสมุด เช่นเลขเรียกหนังสือ 
                             2. ข้อมูลที่เป็นดรรชนี (Index Terms) หรือคำสืบค้น (Access Points) ได้แก่ชื่อผู้รับผิดชอบในการสร้างสรรค์ผลงานนั้น เช่น ผู้แต่ง ผู้แปล ผู้วาดภาพประกอบ
บรรณาธิการ ฯลฯ หรือชื่อเรียกเอกสาร ตลอดจนคำสำคัญที่ปรากฏในส่วนข้อมูลทางบรรณานุกรมหรือหัวเรื่องที่ห้องสมุดกำหนดขึ้นโดยใช้คู่มือในการกำหนดหัวเรื่อง
                             3. ข้อมูลทางบรรณานุกรมของเอกสาร ห้องสมุดส่วนใหญ่มักใช้มาตรฐานการลงรายการทางบรรณานุกรมตามหลักเกณฑ์การลงรายการแบบแองโกลอเมริกัน ซึ่งปัจจุบันเป็นฉบับพิมพ์ครังที่ 2 (Anglo-American Cataloguing Rules, Second Edition-AACR2, 1988 Revision ) เป็นแนนทางในการปฏิบัติงาน รูปแบบทางบรรณานุกรมของเอกสารตาม AACR มี 8 ส่วน แต่ละส่วนเรียงลำดับดังนี้
             ลำดับรูปแบบทางบรรณานุกรมของเอกสารตาม AACR
                             - ชื่อเรื่องและข้อความระบุผู้รับผิดชอบในการสร้างสรรค์ผลงานนั้น
                             - ฉบับพิมพ์
                             - รายละเอียดเฉพาะของเอกสาร
                             - ข้อมูลการจัดพิมพ์  การเผยแพร่
                             - ลักษณะกายภาพของเอกสารนั้นๆ
                             - ชื่อชุด
                             - รายการหมายเหตุ
                             - เลขมาตรฐานประจำเอกสาร

               สรุปได้ว่าองค์ประกอบของ OPAC และ Web Opac คือระบบคอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล ผู้ใช้ และระบบการเชื่อมประสานระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้องค์ประกอบที่สำคัญของ OPAC ที่ช่วยในการสืบค้นสารนิเทศคือ ซอร์ฟแวร์ของห้องสมุด การจัดทำดรรชนี การกำหนดคำศัพท์การสืบค้น ฯลฯ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และตรงกับความต้องการมากที่สุด

                ข้อดีของ OPAC และ Web OPAC
                    OPAC และ Web Opac มีข้อดีในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการสืบค้นสารสนเทศ ดังนี้ 
                          - วิธีการเข้าถึงรายการต่างๆ ของหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ของห้องสมุดทำได้กว้างขวางกว่ารายการรูปแบบอื่นๆ และทำให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์
                          - เทคนิคการสืบค้นสารนิเทศแบบต่างๆ ช่วยสืบค้นหัวเรื่องที่ซับซ้อนได้ง่าย
                          - ประหยัดเวลา และได้รับความสะดวกรวดเร็วในการสืบค้นสารนิเทศ
                          - สามารถสืบค้นสารนิเทศจากเทอร์มินัลซึ่งอยู่ห่างไกลจากห้องสมุด  ซึ่งทำให้ระบบเข้าถึงรายการเป็นรูปของการกระจาย (Decentralized) มากขึ้น
                          - สามารถรวบรวมข้อมูลที่ต้องการได้อย่างครบถ้วน
                          - มีความยืดหยุ่นที่สามารถเพิ่มหรือลบรายการต่างๆ ได้โดยไม่กระทบรายการอื่น
                          - มีความเป็นปัจจุบันมากกว่ารายการอื่น สามารถเพิ่มเติมทรัพยากรสารนิเทศรูปแบบใหม่ๆ หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการลงฐานข้อมูลได้ง่าย และรวดเร็ว
                          - เป็นระบบที่มีความยืดยุ่นในการสืบค้นสารนิเทศต่างๆในฐานข้อมูลได้มากกว่ารายการรูปแบบอื่นๆ
                          - เป็นระบบที่มีการโต้ตอบ (Interaction) เป็นการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และรายการทรัพยากรสารสนเทศของแหล่งสารสนเทศ และผู้ใช้จะได้รับการตอบที่รวดเร็ดเร็ว
                          - ผู้ใช้สามารถเข้าถึงรายการบรรณานุกรม (Online Catalogs) โดยผ่านเครื่องปลายทางซึ่งติดตั้งไว้ภายในที่ต่างๆของสารนิเทศ

                          - ง่ายต่อการใช้และการเรียนรู้การใช้ระบบ (User Friendly) เพราะมีคำแนะนำในการใช้ระบบอยู่ในฐานข้อมูล ซึ่งผู้ใช้สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง
                          - รายการต่างๆที่สืบค้นได้จากฐานข้อมูล แสดงให้เห็นบนหน้าจอภาพจากแหล่งสารสนเทศ
                          - สามารถตรวจสอบประวัติผู้ใช้ เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ รวมทั้งค่าปรับ และวันที่กำหนดส่ง
                          - สามารถจองและยกเลิกสารสนเทศที่ต้องการได้ และดูสถานภาพของสารสนเทศได้
                          - สามารถบันทึกรายการบรรณานุกรมที่ต้องการลงในแฟ้มข้อมูล

                ข้อจำกัดของ OPAC และ Web OPAC
                     ทุกระบบมีข้อจำกัด จะมีมากมีน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับซอร์ฟแวร์ของห้องสมุดอัตโนมัตินั้นๆ ว่ามีการออกแบบระบบตรงกับความต้องการ และมีความเหมาะสมตรงกับสถาบันบริการสารสนเทศหรือไม่ ข้อเสียของระบบมีดังนี้
                            - การนำระบบ Opac และ Web Opac เข้ามาใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ
                            - เนื่องจากระบบ Opac และ Web Opac มีการดำเนินงานด้วยคอมพิวเตอร์ ในกรณีที่คอมพิวเตอร์ขัดข้องการสืบค้นก็จะหยุดชะงักไปด้วย
                            - ถ้าผู้ใช้ขาดความชำนาญในเรื่องระบบหรือด้านคอมพิวเตอร์จะทำให้ใช้งานระบบได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
                            - ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลรักษาระบบ

แหล่งที่มา   วัชรีย์พร คุณสนอง . พฤติกรรมและปัญหาในการสืบค้นข้อมูลสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในระบบ Web Opac ของผู้ใช้บริการสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา : สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา, 2549
                    http://mulic.comuf.com/index.php?option=com_content&view=category&id=36&Itemid=11
                  

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Web Opac มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Web OPAC คืออะไร

Web OPAC
ย่อมาจาก Web Online Public Access Catalog หมายถึง การสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบออนไลน์ โดยการเชื่อมโยงและโอนย้ายสารสนเทศจากแหล่งที่ให้บริการ ซึ่งเรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) มายังเครื่องที่ใช้บริการ

สารสนเทศใน Web OPAC ประกอบไปด้วย
1) บรรณานุกรม
2) บรรณานุกรม + สารบัญ
3) บรรณานุกรม + บทคัดย่อ/บรรณนิทัศน์
4) บรรณานุกรม + ฉบับเต็มรูป
5) ดัชนีวารสาร
6) รายการวารสาร + หนังสือพิมพ์
7) บรรณานุกรม + เมตาดาต้า + ฉบับเต็มรูป


เว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการ
URL : http://www.library.msu.ac.th





เข้าสู่เมนู Web OPAC  ได้ 2 ช่องทาง
คลิก Web OPAC  จากเมนูสืบค้นสารสนเทศ
 คลิก Web OPAC  ที่อยู่มุมขวาบนของเว็บไซต์



ขอบเขตการสืบค้น

      - ผู้แต่ง
      - ชื่อเรื่อง
      - หัวเรื่อง
      - เลยเรียก
      - คำสำคัญ

1.การสืบค้นจากชื่อผู้แต่งผู้แต่ง หมายรวมถึง ผู้แต่งร่วม บรรณาธิการ ผู้แปล ชื่อนิติบุคคล และชื่อรายงานการ ประชุมสัมมนา
* หมายเหตุ : ผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ ให้พิมพ์ชื่อสกุล ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ชื่อต้น     ชื่อกลาง


1.พิมพ์ชื่อผู้แต่ง
2.เลือกขอบเขตการสืบค้น
3.กดปุ่มสิบค้นหา
ผลการสืบค้นจากชื่อผู้แต่ง พบรายการทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นผลงานของผู้แต่ง จำนวน 24 รายการ เรื่องใดที่ตรงกับความต้องการให้คลิกที่ชื่อเรื่องนั้นเพื่อตรวจสอบสถานภาพของหนังสือก่อน เมื่อต้องการสืบค้นใหม่ให้พิมพ์คำค้นลงในช่องว่างแล้วเลือกขอบเขตการสืบค้น กดปุ่ม Search หรือกดปุ่ม New Search เพื่อกลับไปหน้าจอเมนูหลัก
 2.การสืบค้นจากชื่อเรื่อง
พิมพ์ชื่อเรื่องที่ต้องการสืบค้น ซึ่งผู้ใช้ต้องทราบชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ



 ตัวอย่างผลการสืบค้นจากชื่อเรื่อง คำว่า “สารสนเทศ” พบทั้งหมด 121 รายการ ในแต่ละหน้าจะแสดง 12 รายการต่อหน้า ถ้าต้องการดูรายการอื่นให้กดปุ่มเลขหน้าผลการสืบค้นเพื่อแสดงหน้าถัดไป

3. การสืบค้นจากหัวเรื่องหัวเรื่อง หมายถึง คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นเพื่อบ่งบอกถึงเนื้อหาสาระสำคัญของเอกสาร หรือหนังสือ ตลอดจนทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ทุกชนิด

 ผลการสืบค้นจากหัวเรื่องจะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเรื่องที่ต้องการได้ง่ายมากขึ้น โดยผู้ใช้สามารถคลิกหัวเรื่องที่ตรงกับความต้องการเพื่อเข้าไปดูรายการทรัพยากรสารสนเทศว่ามีรายการเรื่องอะไรบ้าง ตัวอย่างจากการสืบค้นพบหัวเรื่องของสารสนเทศจำนวน 69 รายการ และมีจำนวนทั้งหมด 1,152 เล่ม

4. การสืบค้นจากเลขเรียกเลขเรียกหนังสือ หมายถึง สัญลักษณ์ที่กำหนดให้กับทรัพยากรสารสนเทศประกอบด้วยเลขหมู่ พยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่ง เลขประจำตัวผู้แต่ง และพยัญชนะตัวแรกของชื่อเรื่อง เพื่อบอกตำแหน่งที่อยู่ของวัสดุนั้นๆ ในห้องสมุด ซึ่งสำนักวิทยบริการ จัดหมวดหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้

การสืบค้นจากเลขเรียก จะต้องใส่ให้ครบและถูกต้อง ไม่เช่นนั้นระบบจะหารายการทรัพยากรสารสนเทศนั้นไม่พบ

5. การสืบค้นจากคำสำคัญคำสำคัญ คือ คำ หรือวลี ที่ปรากฏอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของชื่อเรื่อง/ชื่อชุด/สารบัญ/บทคัดย่อ ฯลฯ

 ผลการสืบค้นจากคำสำคัญจะได้ผลการสืบค้นจำนวนมากเนื่องจากระบบจะค้นหาคำค้นจากทุกขอบเขตข้อมูล คือ ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง เลขเรียก และเมื่อพบแค่บางส่วนของคำค้น ระบบจะแสดงผลการสืบค้นที่ได้ทั้งหมด จากตัวอย่างพบทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมด 1,926 รายการ

การสืบค้นวารสาร  จาก Web OPAC

เมื่อสืบค้นวารสารเล่มนั้นได้แล้ว ให้จดเลขเรียก และคลิกที่ latest received เพื่อตรวจสอบสถานะของวารสาร

ให้ดูเลขฉบับที่ ปีที่ของวารสารที่ได้จดไว้ ถ้าเป็นวารสารเย็บเล่มจะมีคำภาษาอังกฤษว่า Bound ซึ่งจะถูกจัดเก็บอยู่บนชั้นวารสารชั้น 3 ถ้าเป็นวารสารล่วงเวลาที่รอการเย็บเล่มจะมีคำภาษาอังกฤษว่า Arrived ซึ่งจะเก็บอยู่ที่เคาน์เตอร์วารสาร ให้ผู้ใช้บริการติดต่อบรรณารักษ์เพื่อยืมวารสารเล่มนั้นไปถ่ายเอกสารต่อไป
สถานะของวารสาร

 BOUND  หมายถึง วารสารนั้นเย็บเล่มแล้ว สามารถหยิบได้ด้วยตนเองที่ชั้นวารสารเย็บเล่ม ชั้น 3
ARRIVED  หมายถึง วารสารฉบับนั้นมาแล้ว ติดต่อบรรณารักษ์ที่เคาน์เตอร์วารสาร ชั้น 3
Late  หมายถึง วารสารฉบับนั้นยังไม่มา
To Bind  หมายถึง กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการเย็บเล่ม
การยืมต่อ (Renew)และตรวจสอบประวัติการยืม ผ่าน Web OPAC
การยืมต่อ (Renew) และตรวจสอบประวัติการยืม
            หมายถึง การต่ออายุการยืมทรัพยากรสารสนเทศ ที่ถูกยืมออกจากห้องสมุดโดยไม่ต้องนำทรัพยากรสารสนเทศนั้นมาทำการยืมต่อที่ห้องสมุด และตรวจสอบประวัติการยืมของตนเองเพื่อดูรายการที่ยืม วันกำหนดส่ง หรือดูค่าปรับที่ค้างชำระ โดยดำเนินการผ่านเว็บไซต์สำนักวิทยบริการ หรือจากเครื่องสืบค้น Web OPAC


ขั้นตอนการยืมต่อ            ใช้รหัสบาร์โค้ดและรหัส PIN ที่ใช้กับเครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติ เพื่อล็อคอินเข้าใช้งานในระบบ
 ควรทำการยืมต่อก่อนถึงวันครบกำหนดส่ง 1 วัน หรือภายในวันครบกำหนดส่ง จะไม่สามารถยืมต่อหลังจากวันกำหนดส่งได้หลังจากยืมต่อแล้ว ระบบจะเพิ่มวันยืมให้อีก 7 วัน ผู้ใช้บริการสามารถยืมต่อได้เพียง 1 ครั้ง
การจอง (Hold) ผ่าน web opac
การจอง (Hold)
หมายถึง การจองทรัพยากรสารสนเทศ เช่น หนังสือ สื่อโสตทัศน์ ในกรณีที่ทรัพยากรสารสนเทศนั้นถูกยืมออกไปแล้วผ่าน Web OPAC และเมื่อตรวจสอบรายการที่จองพบว่ามาแล้ว ให้ติดต่อรับรายการที่จองได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน เพื่อนำไปยืมที่เครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติต่อไป
ตัวอย่างการจอง
เมื่อสืบค้นจาก Web OPAC พบว่าหนังสือเรื่องที่ต้องการถูกยืมออกไปแล้ว และผู้ใช้ต้องการยืมหนังสือเล่มนั้นให้คลิกปุ่ม Request ซึ่งอยู่ด้านบนของ Web OPAC

ให้ใส่ชื่อ รหัสบาร์โค้ด และรหัส PIN เช่นเดียวกับการยืมต่อและตรวจสอบประวัติการยืม ให้เลือกสถานที่รับหนังสือ ซึ่งมี 2 แห่ง ได้แก่ 1 MSU Library คือหน่วยบริการขามเรียง และ 2 Srisawas Center คือหน่วยบริการศรีสวัสดิ์ จากนั้นกด Submit

คลิกเลือกหนังสือที่ต้องการจอง จากนั้นคลิกปุ่ม request selected item
การจองที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว

เมื่อการจองเสร็จสิ้นแล้ว ระบบจะแสดงชื่อหนังสือพร้อมชื่อผู้แต่ง และสถานที่รับหนังสือคือสำนักวิทยบริการหน่วยบริการขามเรียง


 ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า
สำนักวิทยบริการ  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
โทรศัพท์ 043-754322 - 40 ต่อ 2405, 2437
E-Mail :
library@msu.ac.th
MSN : reference_lib@msu.ac.th

แหล่งที่มา  http://www.library.msu.ac.th/web/